วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วีดีโอ
















กล้วยไม้แวนด้า

กล้วยไม้แวนด้า

(2 รูปนี้เอามาจากเวปใหนไม่รู้แล้วครับลืม)
ปัจจุบันนี้มีกล้วยไม้แวนด้าลูกผสมออกมามากมาย มีสีสีนต่างๆกัน เรามีวิธีที่จะคัดเลื่อกลักษณะที่ดีของ แวนด้าได้แบบง่ายๆคือ
     1.ลักษณะดอก  ก้านช่อแข็งแรง ยาว
     2.ก้านชูดอกสั้น ทำมุมกันดอกประมาณ30-45องศา
     3.ความหนาของกลีบดอกดี กลีบดอกผึ่งผาย ไม่ห่อตัว
     4.ช่องห่างของแต่ละดอกสม่ำเสมอ
      5.ลักษณะกลับดอกกลม สวยงาม
(รูปนี้เอามาจากเวปครับ)
(รูปนี้ของตัวเองครับ)
เทคนิคการปลูกเลี้ยง
แวนด้า เป็นกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เพราะฉนั้น เรื่องเครื่องปลูก ไม่ค่อยจะมีความสำคัญเท่าไหร่ สวนกล้วยไม้บางแห่งใช้ลวดแข็งๆงอมารองรับที่ข้างใต้รากแล้วใช้ลวดฟิวส์มัดต้นแวนด้าติดกับลวดแขวนเลยก็ได้ครับ
  เริ่มจากการออกขวด
ถ้าหากเราซื้อกล้วยไม้ขวดมา การออกขวดก็เหมือนการออกขวดกล้วยไม้ทั่วๆไป ซึ่งจะอธิบายแบบคร่าวๆง่ายๆนะครับ
   1.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น
     1.1.ยาจำพวกป้องกันเชื้อรา(ผมใช้จำพวกแคปแทนครับ)ผสมน้ำสะอาดให้มีความเจือจางครึ่งหนึ่งจากฉลากที่บอกใส่ถาดใว้
     1.2ค้อนเล็กๆ
     1.3ผ้าขนหนูผืนเล็กๆใว้พันขวด
     1.4.น้ำสะอาดใส่ถังปากกว้าง ปริมาณน้ำพอสมควร
   2.วิธีการออกขวด โดยการจับขวดยกเอาก้นขวดขึ้น เคาะเบาๆ เพื่อให้ต้นกล้วยไม้ใหลลงมาทางด้านปากขวด (ขวดยังไม่เปิดฝานะครับ) เพื่อเวลาเราทุบก้นขวดจะได้ไม่โดนต้นกล้วยไม้ไงครับ  หลังจากนั้นก็เอาผ้าขนหนูที่เตรียมใว้พันรอบขวด ให้เหลือห่างจากด้านก้นขวดประมาณ1-2นิ้ว เพื่อเวลาจับขวดตอนทุบขวด จะได้ไม่บาดมือไงครับ หลังจากนั้นก็ใช้ค้อนเล็กๆทุบด้านท้ายขวดให้แตก  แล้วก็นำกล้วยไม้เทลงในถังน้ำที่เตรียมเอาใว้ครับ  เพื่อล้างวุ้นออกให้หมด (ระวังเศษแก้วที่อยู่ในถังด้วยนะครับ) หลังจากล้างวุ้นเสร็จ ก็เอาต้นกล้วยไม้ทั้งหมดมาแช่ใว้ในยากันเชื้อราที่ผสมน้ำใว้แล้ว  ประมาณ15นาที   แล้วก็ยกขึ้นเอามาใส่ตะกร้าพลาสติกใว้ พยายามจัดต้นให้ด้นยอดขึ้นด้านบนนะครับ   เอาตะกร้าไปใว้ในโรงเรือนจุดที่ไม่โดนแสงแดด จัดให้พรางแสงประมาณ50% ที่สำคัญ ต้องเป็นจุดที่ไม่โดนฝนเด็ดขาด  
   3.หลังจากออกขวดมาอยู่ในตะกร้าแล้ว ก็ถึงวิธีการดูแลกล้วยไม้ต้นออ่นกันละ
กล้วยไม้ต้นอ่อน ต้องดูแลเป็นพิเศษหน่อย เพราะว่าเขายังไม่แข็งแรง การให้น้ำ ให้ปุ๋ย และยากันเชื้อรา (อันนี้สำคัญ) อาจจะต้องจัดการจดบันทึกหน่อยก็ดีครับ
   การรดน้ำ ทางที่ดีควรใช้ป๊อกกี้ ฉีดพ่นเป็นละอองฝอย นะครับ เพื่อป้องกันไม่ให้ใบเขาช้ำนะครับ   ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น  หรือว่าดูจากสภาพอากาศ ครับ ถ้าอากาศชื้นๆ มีฝนตก ก็วันละครั้งตอนเช้าๆก็ได้ครับ  แต่อย่างที่บอกครับ ห้ามโดนฝนเด็ดขาดครับ
  การให้ปุ๋ย ช่วงนี้ให้ปุ๋ยอย่างอ่อน สูตรเสมอน่าจะดีกว่านะครับ ฉีดพ่นหลังจากให้น้ำตอนเช้าแล้ว ทิ้งใว้ให้น้ำแห้งหมาดๆ แล้วฉีดพ่นปุ๋ย (ใช้ปุ๋ยเกร็ด 1ช้อนชา ต่อน้ำ 2ลิตร) ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง ข้อสำคัญ ปุ๋ยที่ละลายแล้ว ฉีดพ่นกล้วยไม้อ่อนแล้วควรใช้ให้หมด ภายในวันเดียวนะครับ  ไม่ควรเก็บใว้ใช้วันหลังนะครับ เพราะปุ๋ยที่เราผสมใว้หลายวัน อาจจะเป็นพิษทำลายกล้วยไม้อ่อนได้ครับ  ที่สำคัญการให้ปุ๋ยควรทำในช่วงเช้า หลังจากรดน้ำตอนเช้าไปแล้วนะครับ  แต่ก็ไม่ควรรอจนสาย เมื่อกล้วยไม้ได้ปุ๋ย และได้ดูดซึมปุ๋ยแล้ว พอได้แดดอ่อนตอนเช้าเขาก็จะเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์แสงต่อไปไงครับ
   การให้ยากันเชื้อรา  การให้ยากันเชื้อรานี่ก็สำคัญครับ กล้วยไม้ต้นอ่อน ยังอ่อนแอ เป็นเชื้อราง่าย   ยากันเชื้อรา ให้ใช้ช่วงเย็นครับ อาทิตย์ละครั้ง หรือ 5วันครั้งก็ได้ครับ  หลังจากที่ให้น้ำในช่วงเย็นแล้ว  ก็ทิ้งใว้ให้แห้งหมาดๆ  แล้วค่อยพ่นยากันเชื้อรา  ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วยครับ ถ้าฝนตกก็ไม่ต้องให้น้ำ สามารถพ่นยากันเชื้อราได้เลย สลับกับการให้ปุ๋ยนะครับ อย่างเช่น ถ้าเราทำรายการใว้ ว่าเราให้ปุ๋ยในวันอาทิตย์ตอนเช้า  เราก็จำทำรายการใว้ ให้ยากันเชื้อราวันพุธ หรือวันพฤหัสตอนเย็นนะครับ
(รูปนี้จากเวปครับ เอามาจากเวปใหนไม่รู้แล้วครับ ตั้งแตเพิ่งหัดเลี้ยง ชอบครับ)
ข้างล่างนี้ ถ่ายเองครับ)


    4.การขึ้นไม้นิ้ว
เมื่อเราเลี้ยงกล้วยไม้ต้นอ่อนใว้ในตะกร้า ประมาณ 1เดือนขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ แข็งแรง ของไม้ขวด ) โดยสังเกตุที่รากของกล้วยไม้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากรากเดิม  เริ่มจะมีหมวกรากใหม่ขึ้นมา เราก็จะเอามาเปลี่ยนใส่เครื่องปลูก  สำหรับแวนด้าซึ่งเป็นกล้วยไม้รากอากาศ ก็ไม่ต้องมีวัสดุปลูกอะไรครับ เอามาจับใส่ถ้วยนิ้วได้เลย  เพื่อจะได้แยกกันเป็นสัดส่วน  ดูแลรักษาง่ายขึ้น เตรียมที่จะได้เป็นต้นกล้วยไม้ต้นโตต่อไป  หรือถ้าหากว่าเราเลี้ยงแวนด้ามีปริมาณมาก เราสามารถเลี้ยงบนแสลนขึงแทนการปลูกลงถ้วยนิ้วก็ได้ครับ เมื่อต้นกล้วยไม้มีความแข็งแรง รากเดินดีแล้วค่อยเอาลงกระเช้าพลาสติก หรือกระเช้าไม้สักต่อไปครับ


 การให้น้ำ ในช่วงไม้นิ้วนี้ สามารถใช้สายยางรดได้ครับ เช้า เย็น  และปุ๋ย ช่วงนี้ก็ให้ปุ๋ยได้ตามปกติ เหมือนเดิมครับ  คือใช้ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำ1ช้อนชา/น้ำ 2ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองฝอยครับ




http://www.oknation.net/blog/PhuketOrchid/2007/07/28/entry-1

ดอกทองกวาว

ทองกวาวชื่อ ทองกวาว
ชื่อสามัญ Flame of the forest, Bastard Teak
ชื่อวิทยาศาสตร์
Butea monosperma Ktze.
ชื่ออื่นๆ กวาว, ภาคเหนือเรียก ก๋าว , ภาคใต้เรียก จอมทอง , อิสานเรียก กาว ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ ทองต้น อยู่ในพืชตระกูล วงศ์ Leguminosae-Papilionoideae

ดอกทองกวาว


 
ลักษณะทั่วไป   - ลำต้น เป็นไม้เปลือกหนา เปลือกแตกเป็นร่องตื้นๆ เป็นไม้เนื้อแข็ง สูงประมาณ 10-20 เมตร ยอดกิ่งก้าน รูปทรงไม่แน่นอน เช่น เป็นพุ่มหนา สูงโปร่ง
เป็นไม้ผลัดใบ เป็นพัธุ์ไม้โตช้า มีความทนทานต่อความแห้งแล้ว และ ต่อโรคสูง ขยายพัธุ์ด้วยเมล็ด
- เปลือกสีเทา ขาว ค่อนข ้างหนา ใบประกอบแบบขนนกเรียงเวียนสลับ มี 3 ใบย่อย ปลายกลมหรือทู่ โคนกลม ขอบใบเรียบ
ผิวด้านบนเกลี้ยงด้านล่างสาก
- มีใบย่อย 3 ใบ ใบ กลางรูปมนกว้างเกือบกลม ปลายใบมนโคนใบสอบ ส่วนใบข้างอีก 2 ใบ รูปไข่ ปลายใบมน โคนใบแหลมแผ่นใบหนา
ด้านบนเกลี้ยงเกลา ด้านล่างของใบสาก
- ดอกสีแสด หรือแดงสด บางต้นมีสีเหลือง รูปทรงแบบดอกถั่วขนาดใหญ่ ออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน
และที่ปลายกิ่ง ยาว 2 - 15 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 5 - 8 ซม. เริ่มออกดอกในเดือน ธันวาคม - มีนาคม
- ขยายพัธุ์โดยเมล็ด ผลเป็นฝักแบนขาวออก สีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดแบนๆ เมล็ดเดียวที่ปลายฝัก ผลจะเริ่มแก่ระหว่างเดือน เมษายน--พฤษภาคม
- พบมากที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด เด็ดปีกแล้วนำไปแช่น้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนจะนำไปปลูก เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 10 วัน
ประโยชน เปลือกใช้ทำเชือกและกระดาษ ยางแก้ท้องร่วง ใบตำพอกฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด ท้องขึ้น
ริดสีดวง เข้ายาบำรุงกำลังดอก ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม
บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาวทาแก้คันและแสบร้อน



http://www.hellomukdahan.com/flame/thailand-mukdahan-flame-history.php

ปลาการ์ตูน


ปลาการ์ตูน(อังกฤษClownfish) เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล มีหลายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกปลาสลิดหิน (Pomacentridae) พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล (sea anemone) มีสีสันสวยงาม โดยทั่วไปประกอบด้วยสีส้ม แดง ดำ เหลือง และมีสีขาวพาดกลางลำตัว 1-3 แถบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นชนิดเดียวกัน ก็จะมีสีแตกต่างกันเล็กน้อยเสมอ ซึ่งความแตกต่างนี้ทำให้มันจำคู่ได้ นอกจากนั้น แหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแปรผันด้วย ปลาการ์ตูนอยู่กันเป็นครอบครัว กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นปลาที่หวงถิ่นมาก มีเขตที่อยู่ของตนเอง
ปลาการ์ตูนออกลูกเป็นไข่และสามารถเปลี่ยนเพศได้ ปลาการ์ตูนจะเปลี่ยนเพศเมื่อสิ่งแวดล้อมกำหนดบทบาทให้ โดยในระยะแรกเริ่มหลังจากที่ฟักออกจากไข่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นเพศใด จนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัยจึงจะปรากฏเป็นปลาเพศผู้ และในปลารุ่นเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นปลาเพศเมีย โดยในสังคมของปลาการ์ตูนกลุ่มหนึ่งๆ จะมีปลาเพศเมียเพียงตัวเดียวเท่านั้น ตัวใหญ่ที่สุดในฝูง สีสันไม่สดใสมากนัก พฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนปลาเพศผู้มีขนาดเล็กกว่า สีสันสวยงามกว่า จากปลาเพศผู้ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกและภายในเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เทเลนฟาลอน (Telenephalon) จะส่งสัญญาณมาที่ธาลามัส (Thalamus) และไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศผู้ อวัยวะเป้าหมายส่วนที่ จะพัฒนาจนสามารถทำงานได้คืออัณฑะผลิตสเปิร์ม ส่วนตัวที่ใหญ่ ที่สุดจะมีพัฒนาการตรงกันข้าม ไฮโปธาลามัสจะส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศเมีย อวัยวะเป้าหมายคือรังไข่ ผลิตไข่ และถ้าเพศเมียตายไป ปลาการ์ตูนเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แข็งแกร่งที่สุด จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพศทดแทนด้วยกลไกแบบหลังภายใน 4 สัปดาห์ โดยจะเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว พร้อมสีสันสวยน้อยลง





http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&sa=N&biw=1366&bih=564&tbm=isch&tbnid=IGQhO73w_mlDxM:&imgrefurl=http://www.trangtravel.com/%3Fp%3D202&docid=T6HlgFR-OhbFSM&imgurl=http://www.trangtravel.com/wp-content/uploads/2010/03/nemo.jpg&w=591&h=394&ei=JEwsUe6KKJDJrQfH44GIAQ&zoom=1&iact=hc&vpx=975&vpy=232&dur=

ความหมายของดอกดาวเรือง

ดาวเรือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes erecta L.; ชื่อสามัญ: Marigold) คำปู้จู้ คำปู้จู้หลวง (พายัพ) บ่วงสิ่วเก็ก เฉาหู้ยัง กิมเก็ก (จีน) ดาวเรืองนิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆ อีกหลายพันธุ์
 
      ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยนิยมปลูกกันมาก เนื่องจากเมล็ดมีขนาดใหญ่ปลูกง่าย งอกเร็ว ต้นโตเร็ว และแข็งแรงไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน ให้ดอกเร็ว ดอกดก มีหลายชนิและหลายสี รูปทรงของดอกสวยงาม สีสันสดใส บานทนนานหลายวัน สามารถปักแจกันได้นาน 1-2 สัปดาห์ ให้ดอกในระยะเวลาสั้น คือ ประมาณ 60-70 วัน หลังปลูก ดังนั้นในการปลูกดาวเรืองสามารถกำหนดระยะเวลาการออกดอกให้ตรงกับเทศกาลสำคัญได้จึงมีผู้นิยมปลูก และใช้ดาวเรืองกันมาก นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ตลอดปี และปลูกได้ทุกจังหวัดในประเทศไทย ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว ยังนิยมปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อประดับตกแต่งอาคารสถานที่ และปลูกเพื่อตัดดอกส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย
 
     การปลูกดาวเรืองในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบเพียงว่าดาวเรืองไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย แต่มีการนำเข้าพันธุ์ดาวเรืองจากต่างประเทศมาปลูกเป็นเวลานานจนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี มีการกระจายตัวขอสายพันธุ์มากทั้งทางด้านรูปทรงดอก ขนาดดอก ลักษณะการเจริญเติบโต ตลอดจนการต้านทานต่อโรคและแมลง ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกดาวเรืองประมาณ 4,000 ไร่ มีแหล่งปลูกทีสำคัญ คือ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี กรุงเทพฯ ราชบุรี สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และอุดรธานี
 
 

ชนิดของดาวเรือง


   ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

   1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่

      พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น

      พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น

      พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น

   2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้เป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีก้านดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่

    พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น

    พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น
   3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Mariglds หรือ Afro American Marigolds) เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องจากเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ

    ดาวเรืองลูกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์ (Red Sevenstar) และโชว์โบ๊ต (Showboat)
 

การขยายพันธุ์ดาวเรือง


       ทำได้โดยการใช้เมล็ดและการปักชำ แต่วิธีที่นิยมทำคือ การใช้เมล็ด เพราะได้จำนวนมากกว่า โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะเพาะ ซึ่งมีวัสดุเพาะ คือ ขุยมะพร้าว ทราย  ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1 หรือแปลงเพาะที่มีดินร่วนซุยค่อนข้างละเอียด คราดดินให้ผิวดินเรียบสม่ำเสมอ ทำร่องบนกระบะเพาะหรือแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกัน 5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงร่องห่างกัน 1-2 นิ้ว แล้วกลบแต่ละร่องด้วยวัสดุเพาะ หรือดินละเอียดเพียงบางๆ รดน้ำด้วยฝักบัวฝอยให้ชุ่ม แล้วคลุมกระบะเพาะด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือคลุมแปลงเพาะด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง  ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อรักษาความชื้น เมล็ดดาวเรืองจะงอกภายใน 3-5 วัน เป็นต้นกล้า
 

การปลูกดาวเรือง


    1.    ไถเตรียมดิน หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไป ประมาณ 1 ตัน/ไร่ ยกร่องแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร รดน้ำแปลงไว้ล่วงหน้า 1 วัน

    2.    ขุดหลุมกว้าง 15 เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยทริบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟส หรือสูตร 15-15-15 ประมาณ 1    ช้อนชา รองก้นหลุม แล้วเกลี่ยดินข้างหลุมมากลบปุ๋ยเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง

    3.    นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม

    4.    หลังจากนั้น ต้องรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 7 วัน ซึ่งต้นกล้า จะตั้งตัวได้ดี แล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า ในช่วงที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค

    5.    เมื่อดาวเรืองอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อน : ต้น เมื่ออายุ 35 และ 45 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราเดียวกัน  โดยวิธีฝังลงในดินตื้นๆ ประมาณ ?  นิ้ว ห่างโคนต้น 6 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย

    6.    ช่วงดาวเรืองอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นมีใบจริงขนาดใหญ่ ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็กๆ 1-2 คู่ จะต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้าง โดยใช้มือซ้ายจับคู่ใบบนสุดที่จะเหลือไว้ แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้างจนหลุดออกมา หลังจากนั้น 5-7 วันตาข้างจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่ ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง

    7.    หลังจากปลูก 40-45 วันในแต่ละกิ่ง เมื่อดอกยอดมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดดอกข้างมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว  เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่

    8.    หลังจากนั้นประมาณ 20 วัน ( อายุ 60-65 วัน ) ก็ตัดดอกไปจำหน่ายได้ ซึ่งจะได้ประมาณ 10-12 ดอก/ต้น
 

โรคและแมลงที่สำคัญต่อดาวเรือง


   1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
    การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง

   2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
    การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง

   3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
    การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง

   4.  เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
    การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง

   5.  หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
    การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท, แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด

แมลงศัตรูสำคัญของดาวเรือง

 
เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ทำให้ใบหงิกงอแล้วห่อขึ้นไม่ แตกใบใหม่ จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก จะพบเห็นมากในตอนกลางวัน ตัวเรียวเล็ก สีน้ำตาล ส่วนมากพบใต้ใบ ใช้สารเคมีพ่นกำจัดเพลี้ยไฟทุกๆ 5-7 วัน หากระบาดมากทุกๆ 2-3 วัน โดยมากในช่วงหลังฝนตก ที่มีความชื้นสูง และอากาศร้อนอบอ้าว ควรฉีดพ่นในช่วงสาย และช่วงบ่าย หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นยาในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด เพราะตัวยาบางชนิดจะทำให้ใบไหม้ได้ (มีระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด)
 
หนอนชอนใบ

      ทำลายใบอ่อนตัวหนอนที่ฟักจากไข่ไชชอนเป็นทางยาวหรือ สร้างอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายในใบที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกรน บิดเบี้ยว
 
 
      มีสารเคมีหลายชนิดที่ใช้สำหรับป้องกันกำจัดหนอนชอนใบ แต่ช่วงเวลาพ่นสารเคมีสำหรับกำจัดหนอนชอนใบจะต้องกระทำในช่วง 6 โมงถึง 9 โมงเช้าเท่านั้น หากเกษตรกรพ่นในช่วงเวลาอื่นๆ สารเคมีจะไม่มีผลในการทำลาย (ระบาดในช่วงที่ย้ายปลูกใหม่ๆ ก่อนเด็ดยอด)
 
หนอนกัดใบ และหนอนผีเสื้อ

หนอนจะกัดกินดอกจนกลีบดอกร่วงเสียหาย เข้าทำลายในขณะทีดอกเริ่มบาน หนอนเหล่านี้เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน ดังนั้นนิสัยการออกหากินจะเป็นช่วงเวลากลางคืน การใช้สารเคมีชนิดถูกตัวตายจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ช่วงเวลาที่เหมาะสมมี 2 เวลาคือ ใกล้ช่วงเช้าประมาณตี 2 หรือทุกๆเช้าช่วง 6 โมงถึง 7 โมง เช้า หรือ 1 ทุ่ม ถึง 3 ทุ่ม จะเหมาะสมกว่า หนอนกัดใบ และหนอนผีเสื้อจะมีการขยายพื้นที่หา กินจากจุดศูนย์กลาง และเคลื่อนย้ายไปตามที่อื่นๆ ที่มีอาหาร(ใบ ลำต้น ดอก) ดังนั้นเรา อาจพ่นเป็นจุด หรือพ่นรอบๆพื้นที่เสียหาย และมีการตรวจสอบทุกระยะ หากการทำลาย ยังมีอยู่จำเป็นต้องฉีดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (ระบาดในช่วงตุ่มดอก)
 
ไรแดง

ไรแดงพบมากในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนจัด พบมากในส่วนใต้ ใบ และจะ ลามไป ทั้งแปลง ไรแดงมีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ขนาดเล็กมาก สีแดงชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุม คลุมทั้งต้น ใบพืชที่โดยทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดด่างๆ สีเหลือง แล้วทำให้ใบหงิกงอห่อลงช่วงเวลาการพ่นสารเคมีในช่วง สายและช่วงบ่าย จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด (มักระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด)
 

การดูแลรักษาดอกดาวเรือง

 

      1. หลังจากย้ายปลูกลงแปลงครบ 10 วันหรือสังเกตจากดาวเรืองมีใบจริงจำนวน 3 คู่ ให้เด็ดยอดดาวเรืองออก เพื่อให้เกิดการแตกของกิ่งข้างของดาวเรือง โดยวิธีการเด็ดยอดคือ ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งจับตรงโคนของยอดดาวเรือง ยอดบนสุด แล้วเด็ดยอดออกพยายามเด็ดยอดให้ชิดโคนยอดและให้ยอดหลุดอย่าให้เกิดบาดแผลจาก การเด็ดยอด (การเด็ดยอดดาวเรืองควรเด็ดยอดในช่วงเช้าเนื่องจากดาวเรืองจะอวบน้ำอยู่ และหลังจากเด็ดยอดควรพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่ม ไดเทน)

      2. หลังจากเด็ดยอดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 2 กรัม (1 ช้อนชา) ต่อต้น โดยหว่านปุ๋ยรอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 20 ซม. (หนึ่งฝามือ) พร้อมกับพูนโคนและกำจัดวัชพืช (ในช่วงนี้หากเป็นฤดูฝนให้เริ่มทำค้างสำหรับป้องกันต้นดาวเรืองล้ม เพราะหากทำค้างดาวเรืองเกินไปจากช่วงนี้ไปรากของดาวเรืองจะเจริญเติบโตมาก จะทำให้ในการทำไม้หลักปักค้างดาวเรือง โดนใส่รากดาวเรือง

     3. หลังจากย้ายปลูก 35-40 วัน (เริ่มเห็นตุ่มดอก) ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา 2 กรัม (1 ช้อนชา)ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 1 กรัม(ครึ่งช้อนชาต่อต้น) โดยหว่านปุ๋ยรอบโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 20 ซม. (หนึ่งฝามือ) พร้อมกับพูนโคนและกำจัดวัชพืช ในกรณีที่ต้องใช้ปุ๋ยสองสูตรรวมกันให้ผสมก่อนแล้วค่อยใส่ลงในแปลง

      เช่น ผสมปุ๋ย 15-0-0 อัตรา 1,000 กรัม (1 กิโลกรัม) รวมกับปุ๋ยสูตร 0-0-16 อัตรา 500 กรัม (ครึ่งกิโลกรัม) สามารถนำไปใช้กับต้นดาวเรืองได้ทั้งหมด 500 ต้น ต้นละ 3 กรัม

      ในกรณีที่ไม่สามารถหาปุ๋ยสูตร 15-0-0 หรือ 0-0-60 ได้ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 แทนโดยใช้ในอัตรา 3 กรัม (ครึ่งช้อนโต๊ะ) ต่อต้นทั้งสองระยะ หลังการให้ปุ๋ยจะต้องให้น้ำตามทุกครั้งเสมอ

      4. การพ่นปุ๋ยทางใบและอาหารเสริม ช่วงหลังจากย้ายปลูก 35-40 วัน (ช่วงเป็นตุ่มดอก) ให้เริ่มพ่นอาหารเสริมพวก แคลเซียม – โบรอน และอาหารเสริมต่างๆ ยกเว้นธาตุอาหารเสริมกลุ่มที่เป็นธาตุเหล็ก (Fe) โดยพ่นทุกๆ 3-4 วันก่อนที่ตุ่มดอกจะเริ่มเห็นสีดอก ช่วงหลังจากย้ายปลูกแล้วประมาณ 70-75 วัน (เก็บดอกแล้วประมาณ 3-4 มีด) ให้พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 2:2:3 (N:P:K) เช่นปุ๋ยทางใบสูตร 20:20:30 โดยพ่นทุก 5-7 วันประมาณ 2-3 ครั้ง หลังจากพ่นครั้งแรก
 
      5. การให้น้ำดาวเรือง ดาวเรืองเป็นพืชที่ชอบการให้น้ำในลักษณะให้น้อยๆ แต่บ่อยๆ ครั้งหรือชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะและน้ำท่วมขัง

สายพันธุ์ชวนชมที่นิยมปลูกในประเทศไทย

สายพันธุ์ชวนชมที่นิยมปลูกในประเทศไทย
 
1 สายพันธุ์ฮอลแลนด์  , โอบิซุม( Obesum )
- มีโขดขนาดอยู่ใต้ดิน ออกดอกง่าย มีดอกตลอดปี ติดฝักดี ลำต้นแตกแขนงมาก ใบมันสีเขียวอ่อนไม่มีขน
- ดอกสีชมพู  กลีบดอกสีชมพูเข้ม กรวยดอกสีเหลือง มีระยางค์อันเรณู  5  เส้น
 
2 สายพันธุ์ยักษ์ญี่ปุ่น , ( Somalense )
- ลำต้นตรงใหญ่ สูงชะลูด แตกกิ่งด้านข้างน้อย  ใบเรียวแคบ ใบไม่มี ขน ใบสีเขียวสดใส เห็นเส้นใบขาวเด่น
2.1) ยักษ์ญี่ปุ่น
2.
2) ยักษ์ญี่ปุ่นแคระ
2.3) ยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม

 
 
3 สายพันธ์ยักษ์ซาอุหรือยักษ์อาหรับ ,   อาลาบิคัม ( Arabicum )
- ลำต้นสูงใหญ่ ใบมีขน โขดอยู่ที่โคนต้น สามารถผลัดใบได้เอง
 
 
4 สายพันธุ์โซโคทรานัม , ( Socotranum )
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1 สายพันธุ์ฮอลแลนด์  , โอบิซุม( Obesum )
  มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบทางตอนใต้ของซาอีลแทนซาเนีย ซิมบักเวย์  เคนย่า  เป็นชนิดแรกที่นำเข้ามาในประเทศไทย  สันนิษฐานว่านะจะนำเข้ามาจากดินโดนีเซีย  ซึ่ง ชวนชมสายพันธุ์นี้พบเห็นกันทั่วไปในประเทศไทย  จนบางครั้งถูกเรียกว่าพันธุ์ไทย หรือพันธุ์พื้นเมือง  ลักษณะเด่นของชวนชมชนิดนี้ ลำต้นจะแตกกิ่งแขนงมาก  โขดไม่ค่อยใหญ่  ใบมัน  ไม่มีขนสีเขียวอ่อน ดอกสีชมพู  กลีบดอกสีชมพูเข้ม กรวยดอกสีเหลือง มีระยางค์อันเรณู  5  เส้น ต่อมาภายหลังมีการนำเข้าไม้ชนิดนี้จาก สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์  ไต้หวัน  และมีการปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศ  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโขดขนาดใหญ่ขึ้นและสีสรรของดอกมีความหลากหลาย สวยสดงดงาม จัดเป็นไม้สียอดนิยม และมีชื่อเรียกขานมากมายหลายร้อยชื่อ เช่น
มิสไทยแลนด์
แสงรัศมี
แดงสยาม
แดงขอบม่วงแดงไต้หวัน
แดงมงคล
แดงยูโร
ไพสิฐสตาร์
บี 52 
ละอองทองมหาลาภอั่งเปายูเอสสตาร์
2 สายพันธุ์ยักษ์ญี่ปุ่น , ( Somalense )
1)ยักษ์ญี่ปุ่น
      มีถิ่นกำเนิดในอาฟริกา พบที่แทนซาเนียโซมาเลีย เคนย่า เป็นชวนชมยักษ์ชนิดหนึ่ง  ที่มีลำต้นตรงใหญ่ สูงชะลูด แตกกิ่งด้านข้างน้อย  ใบเรียวแคบ ใบไม่มี ขน ใบสีเขียวสดใส เห็นเส้นใบขาวเด่นชัด  ดอกมีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ดอกสีชมพู หรือแดง  กรวยดอกมีเส้นสีเหลืองชัดเจน 15-25 เส้น เป็นไม้ที่ออกดอกดกมาก  จะทิ้งใบหมดหากกระทบแล้ง และออกดอกตามลำต้นและกิ่งหลัก  เคยมีผู้พบเห็นในท้องถิ่นเดิมของอาฟริการายงานว่าสูงกว่า 5 เมตร มีโคนใหญ่กว่าถัง 200 ลิตร
  
 ยักษ์ญี่ปุ่นที่สะสมในไพสิฐฟาร์ม มีดังนี้
 
1.1)ยักษ์ญี่ปุ่นใบเงิน  มีลักษณ์ดังนี้
 -  ใบสีเงินมันวาว  ไม่มีขน  ใบเรียว  ปลายใบแหลม
 -  มีลำต้นและกิ่งก้านที่แข็งแรง  สำต้นมีขนาดใหญ่
 -  ดอกดก  ออกดอกตามลำต้นและกิ่งก้าน  ดอกมีขนาดกลางๆ  ดอกสีแดงเข้ม กรวยดอกมีลายเส้นสีเหลืองชัดเจน  เวลาออกดอกมักทิ้งใบ
 -  ตามธรรมชาติติดฝักค่อนข้างยาก  ฝักมีขนาดใหญ่ เมล็ดเรียวยาว
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีใบสีเงินมันวาว มีลำต้นขนาดใหญ่ และแข็งแรง
  
  
1.2)ยักษ์ญี่ปุ่นใบด่าง  มีลักษณะดังนี้
 -  ใบด่าง  มีทั้งสีเหลืองสลับเขียวปนขาว  ใบห่อ ใบมัน ไม่มีขน  ใบเรียว  ปลายใบแหลม
 -  มีลำต้นและกิ่งก้านแข็งแรง  สำต้นสีขาวนวล
 -  ดอกดก  ออกดอกตามลำต้นและกิ่งก้าน  ดอกมีขนาดเล็ก ดอกสีชมพู กลีบดอกสีชมพูเข้ม กรวยดอกสีเหลืองอ่อน  มีเส้นกรวยดอกสีเหลืองชัดเจน เวลาออกดอกมักทิ้งใบ
 -  ตามธรรมชาติติดฝักพอประมาณ ฝักมีขนาดใหญ่ เมล็ดเรียวยาว
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดใบไม่ด่าง แต่มีลักษณะที่ดี  โตเร็วและแข็งแรง
  
  
1.3)ยักษ์ญี่ปุ่นกิ่งแดง  มีลักษณะดังนี้
 -  ลำต้นกิ่งก้านสีน้ำตาลอมแดง  ลำต้นมีขนาดใหญ่และแข็งแรง
 -  ใบยาวเรียว ปลายใบมน  ใบสีเขียว ใบมัน ไม่มีขน มีเส้นกลางใบสีขาวชัดเจน
 -  ดอกดก  ออกดอกตามลำต้นและกิ่งก้าน  ดอกมีขนาดเล็ก  ดอกสีชมพู  กลีบดอกสีแดง  เส้นกรวยดอกสีแดงและชัดเจน
 -  ตามธรรมชาติติดฝักค่อนข้างยาก  ฝักมีขนาดใหญ่ เมล็ดใหญ่เรียวยาว
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะที่ดี  โตเร็ว และแข็งแรง
  
  
1.4)ยักษ์ญี่ปุ่นกำแพง  มีลักษณะดังนี้
 -  ปลายกิ่งของลำต้นจะแตกเป็นกำแพง  ออกดอกด้านบนกำแพงเป็นกลุ่มๆ   และออกดอกตามลำต้น  ดอกสีชมพูอ่อน  เส้นกรวยดอกสีแดง ดอกดกมาก  เวลาออกดอกมักทิ้งใบ  ทำให้เห็นดอกเต็มต้น  แลดูสวยงามมาก
 -  ใบสีตองอ่อน  เรียวยาว  มีเส้นสีขาวกลางใบชัดเจน
 -  ลำต้นสีขาวนวล  มีกิ่งก้านค่อนข้างอ่อน  ไม่แข็งแรง
 -  ตามธรรมชาติติดฝักพอประมาณ  ฝักมีขนาดกลางๆ เมล็ดเรียวยาว
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะคล้ายต้นแม่ ดอกดกและออกดอกด้านบนกำแพงเป็นกลุ่มๆ
1.5)ยักษณ์ญี่ปุ่นใบมัน  มีลักษณะดังนี้
 -  ใบมันวาวเขียวเข้ม  ใบมนป้าน  มีเส้นใบสีขาวชัดเจน
 -  มีลำต้นและกิ่งก้านแข็งแรง  ลำต้นสีเทาอมเขียว
 -  ดอกดก  ออกดอกตามลำต้นและกิ่งก้าน  ดอกมีขนาดเล็ก  ดอกสีชมพู  กลีบดอกสีชมพูเข้ม เส้นกรวยดอกสีแดงชัดเจน  เวลาออกดอกมักทิ้งใบ
 -  ตามธรรมชาติติดฝักพอประมาณ  ฝักมีขนาดปานกลาง  เมล็ดเรียวยาว
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะที่ดี  โตเร็วและแข็งแรง
  
  
1.6)ยักษ์ญี่ปุ่นใบเล็ก  มีลักษณะดังนี้
 -  ใบเรียวเล็ก ปลายใบแหลม สีเขียวตองอ่อน มีเส้นใบชัดเจน  เส้นกลางใบด้านโคนใบสีแดง
 -  มีลำต้นและกิ่งก้านที่แข็งแรง  ลำต้นสีเทาอมเขียว  มีลำต้นขนาดใหญ่
 -  ดอกรูปดาว  สีชมพู  กลีบดอกสีชมพูเข้ม  ดอกมีขนาดเล็ก  มีเส้นกรวยดอกสีแดงชัดเจน
 -  ตามธรรมชาติติดฝักค่อนข้างยาก  ฝักมีขนาดปานกลาง  เมล็ดเรียวยาว
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะที่ดี  โตเร็วและแข็งแรง
2)ยักษ์ญี่ปุ่นแคระ
 มี ถิ่นกำเนิดในอาฟริกา  พบที่โซมาเลีย  แทนซาเนีย เคนย่า  เป็นไม้พุ่มเตี้ย  มีโขดกลมอยู่ใต้ดิน  ใบเรียวแคบยาวแหลม  ขอบใบหยิกเป็นคลื่น  ใบมันไม่มีขน ใบมีสีเขียว หรือสีเทาหรือสีน้ำตาล  เห็นเส้นใบชัดเจน ดอกมีขนาดเล็ก ดอกสีชมพู แดง หรือ ลาย  กรวยดอกมีเส้นสีชัดเจน ประมาณ 15 เส้น  เป็นไม้ที่ออกดอกดกมากช่วงการบานนาน  สายพันธุ์นี้นำเข้ามาในประเทศไทยจากแหล่งเพาะพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ปลูกเลี้ยงกันในชื่อ  ยักษ์แคระอเมริกา  ยักแคระลำลูกกา ลินฟอร์มาซา    และอื่นๆ  อีกมากมายหลายชนิด  ในปัจจุบันมีการนำไม้ชนิดนี้มาปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ทั้งในและต่าง ประเทศ  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีใบและดอกสีสวยสดงดงามมากมายหลายชนิด  จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "กลุ่มลูกผสมยักษ์ญี่ปุ่นแคระ"   ปัจจุบันมีการนำไม้ชนิดนี้มาทำเป็นไม้สีเสียบยอด และมีการจำหน่ายรวมกันกับไม้สีเสียบยอด" กลุ่มลูกผสมฮอลแลนด์ "  จนบางครั้งหากไม่สังเกตุให้ดี  จะแบ่งแยกไม้สองกลุ่มดังกล่าวข้างต้นไม่ค่อยออก

 
3)ยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม
 มัก เป็นลูกผสมระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับฮอลแลนด์ ในประเทศไทยมักมีการปลูกรวมกันระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับฮอลแลนด์ในแหล่งเพาะ เลี้ยงต่างๆ ทำให้เกิดลูกผสมที่หลากหลายและมากมาย และมักได้ลักษณะลูกผสมที่ดีทั้ง ดอก ลำต้น และโขด มากมายนานาชนิด
  
 * ยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม ในไพสิฐฟาร์มที่เด่นๆ มีดังนี้
 
3.1)ยักษ์ ญี่ปุ่นลูกผสม "ศรีไพสิฐ" เป็นไม้เพาะเมล็ดเป็นลูกผสมระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับฮอลแลนด์ อายุ 10 ปี โขดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 70-80 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.20 เมตร โขดลำต้นและใบมีสีเขียว ดอกสีชมพู กลีบดอกด้านนอกสีแดง ดอกมีขนาดปานกลาง ออกดอกดกตลอดทั้งปี ให้ฝักปานกลาง เมล็ดมีขนาดยาวและใหญ่กว่ายักษ์ญี่ปุ่นแท้ ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโรเร็๋วมาก โดยเฉพาะโขดจะโตเร็วกว่าฮอลแลนด์ 1-2 เท่าตัว ลำต้นมักขึ้นเป็นลำต้นเดียวมีขนาดใหญ่ โขดลำต้นและใบมีสีเขียวสด ดอกสีชมพูอมแดง เหมาะสำหรับทำเป็นตอเสียบยอดไม้เดี่ยว (ยอดเดี่ยว) เพราะโขดโตไว โขดสีสวยและมีรูปทรงที่ดี หรือจะปลูกเป็นไม้จัดสวนก็ได้ เพราะมีลำต้นและกิ่งก้านที่แข็งแรง
  
  
3.2)ยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม "ยักษ์กอ"
 สันนิษฐาน ว่าเป็นไม้ลูกผสมระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับ ชวนชมสายพันธุ์อื่นๆ หลายสายพันธุ์ ไม่มีใครระบุสายพันธุ์ได้แน่นอน บ้างก็ว่าน่าจะเป็น "มัลติฟอรัม " มีลักษณะโครงสร้างลำต้นทั่วไปคล้ายชวนชมพื้นเมือง เจริญเติบโตเร็ว ต้นแม่เป็นกิ่งปักชำล้ำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 นิ้ว สูงกว่า 2 เมตร ลักษณะเด่นที่แยกได้ชัดเจนคือ ใบมีสีเขียวอมเทาเป็นมัน มีเส้นสีแดงกลางใบเห็นได้ชัดเจน มีลักษณะใบคล้ายยักษ์ญี่ปุ่น ดอกสีชมพูมีขนาดปานกลาง กลีบดอกแหลม ระยางค์อันเรณูยาวเลยส่วนกรวยดอก ออกดอกตลอดทั้งปี ให้ฝักปานกลาง เมล็๋ดสมบูรณ์ใหญ่ป้อม ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตเร็วมาก โดยเฉพาะโขดจะโตเร็วกว่า ฮอลแลนด์ 1-2 เท่า ลักษณะเด่นเฉพาะตัวคือ ลำต้นจะแตกเป็นกอ จากโขดประมาณ 4-6 ลำ มีเส้นกลางใบสีแดง เหมาะสำหรับทำเป็นตอเสืยบไม้พุ่ม (เสียบหลายยอด) เพราะโขดโตไวและมีลำต้นหลายลำ หรือจะปลูกเป็นไม้จัดสวนก็ได้ เพราะมีลำต้นที่เป็นกอที่สวยงาม

 
3 สายพันธ์อาลาบิคัม , ( Arabicum )
- โขดอยู่ที่โคนต้น สามารถผลัดใบได้เอง
มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ  ทางตอนใต้และตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ  ลำต้นสูงใหญ่  ส่วนใหญ่ใบมักมีขนละเอียดนุ่ม  ดอกมักมีสีชมพูและมีขนาดเล็ก  ออกดอกตามกิ่งก้านหรือลำต้น ฝักมักมีสีแดงเข้ม  ฝักและเมล็ดมักมีขนาดใหญ่  ชวนชมชนิดนี้สามารถแบ่งลักษณะลำต้นออกเป็น  2  ลักษณะดังนี้
-  ลำต้นสูงแบบไม้ยืนต้น  จะมีลำต้นที่สูงชะลูด  ลำต้นจะแตกออกจากฐานโขดหลายลำ  ลำต้นชี้ขึ้นตรงมักเจริญติบโตในแนวสูงมากกว่าการขยายในแนวราบ  อาจสูงได้ถึง  4  เมตร  ที่พบเห็นในประเทศไทยเช่น  ยักษ์หน้าวัง  เป็นต้น
-  ลำต้นเตี้ย  ลำต้นจะขึ้นเป็นแท่งหลายแท่งจากฐานโขด  มักเจริญเติบโตในแนวราบ  มากกว่าแนวสูง  ฐานโขดมักมีขนาดใหญ่  โขดอาจมีขนาดใหญ่ถึง 1 เมตร  สูงประมาณ 2.50 เมตร  ที่พบเห็นในประเทศไทย เช่น  ยักษ์เยเมน เป็นต้น
           ชวนชมชนิดนี้ส่วนใหญ่ทะยอยนำเข้ามาในประเทศไทย  ทั้งเมล็ด กิ่ง และต้น จากผู้ที่เคยทำงานในตะวันออกกลางตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมา  ซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง  หลายสายพันธุ์  ชวนชมชนิดนี้มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าชวนชมพื้นเมืองทั่วไป เพราะโขดมีขนาดใหญ่กว่ามาก  ในบ้านเรานั้นมักเรียกชื่อสายพันธุ์ตามแหล่งที่นำไปเพาะเลี้ยง เช่น ยักษ์ลพบุรี  ยักษ์สิงห์บุรี  เพชรเมืองคง(โคราช) เป็นต้น  ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีความแตกต่างกันไป  ปัจจุบันมีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ไปมาก  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดรุ่นใหม่ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์แตกต่างจากสาย พันธุ์ดั้งเดิมมาก

ยักษ์อาหรับ ในประเทศไทย สามารถจำแนกได้ ดังต่อไปนี้

1)
ยักษ์เยเมน < Arabicum : Yak - Yamen>
2)
ยักษ์เกษตร
  
3)
ยักษ์สิงห์บุรี < Arabicum : Yak-sing-Bu-Ri>
  
4)
ยักษ์ลพบุรี
  
5)
ยักษ์หน้าวัง < Arabicum : Yak - Na - Wang>
  
6)
ยักษ์ดำ-สายสิงห์บุรี
  
7)
เพชรเมืองคง < Petch Muang Kong >
  
  
8)
เพชรหน้าวัง A5  < Petch Na Wang A5>
  
  
9)
เพชรหน้าวัง A6 < Petch Na Wang A6>
  
  
10)
ยักษ์ดำ - สายโคราช < Black Giant - Korat >
  
  
11)
อัศวินดำ - สายโคราช < Black Knight - Korat >
  
  
12)
อัศวิน - สาย7 < Black Knight - Sai7 >
 

 
4 สายพันธุ์โซโคทรานัม , ( Socotranum )
ไทย โซโคทรานั่ม < Thai Socotranum >
 มีถิ่นกำเนิดในเขตอาหรับตอนใต้  จะพบได้มากที่สุดที่เกาะโซโคทร้าของเยเมน  ถือว่าเป็นชวนชมยักษ์ที่แท้จริง มีรายงานว่าพบสูงถึง 6 เมตร  โขดกว้างเกือบ 2 เมตรครึ่ง  ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเห็นความแตกต่างจากชวนชมชนิดอื่นได้อย่างชัดเจน  เอกลักษณ์เฉพาะตัวคือลำต้นจะขึ้นเป็นแท่งๆ เดียว  ดูคล้ายบอนไซหรือต้นไม้ที่มีรากชี้ฟ้า  ส่วนโขดจะมีรากที่ใหญ่บิดงอซับซ้อนสวยงามมาก  ดอกดก  ออกดอกประมาณปีละ 2 ครั้ง  ในฤดูหนาวและฤดูร้อน  ดอกสีชมพูมีขนาดเล็ก  เวลาออกดอกมักทิ้งใบ  ใบมันไม่มีขน  สีเขียวเข้ม มีสีเส้นกลางใบชัดเจน
              สำหรับประเทศไทยเรา  มีผู้ไปทำงานที่ซาอุดิอาราเบีย นำกิ่งปักชำมาปลูกไว้ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เพชรบ้านนา"  นอกจากนั้นยังมีผู้นำเข้าต้นกล้าขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยมาปลูกและเพาะเลี้ยง ที่ ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นที่มาของ "ยักษ์หนองแหน (ดำริสิทธิโชค) " ต่อมาภายหลังมีผู้นำลูกไม้ของยักษ์หนองแหนไปปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเทริงเทรา ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เพชรหนองแหน" หรือเจ้าของเรียกว่า "ดำริสิทธิโชค"  ต่อมาภายหลังมีผูนำลูกไม้ของเพชรหนองแหน ไปปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จึงเป็นที่มาของชื่อ "ยักษ์บางคล้า"  ในการนำเข้ามาในบ้านเราครั้งแรกนั้น  เข้าใจว่าเป็นยักษ์อาหรับหรือยักษ์ซาอุ ธรรมดา  ต่อมาภายหลังจึงค้นพบเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความแน่นอนชัดเจน  จึงได้แน่ใจกันว่าเป็นสายพันธุ์ "โซโคทรานั่ม"
              ตามธรรมชาติชวนชมชนิดนี้ติดฝักค่อนข้างยาก  แต่ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีความนึ่งของสายพันธุ์สูงและมักไม่กลาย พันธุ์  จัดเป็นชวนชมสายพันธุ์ที่มีน้อยที่สุดและหาได้ยากมากที่สุด  ทั้งในประเทศ และในโลกนี้  ดังนั้นทั้งเมล็ด  ต้นกล้า  ต้นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จึงมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด  และมีราคาอยู่ในระดับสูงมาก
              เรามีเมล็ด  ต้นกล้า  ลูกไม้เพาะเมล็ด  ไม้เสียบยอด  สายพันธไทย ุ์โซโคทรานั่ม  นานาชนิดให้ท่านเลือกสรร
              ไทย โซโคทรานั่ม ในประเทศไทย สามารถจำแนกได้ ดังต่อไปนี้
1)
เพชรบ้านนา >
 
1)ต้นแม่เป็นกิ่งปักชำ  นำเข้ามาจากประเทศซาอุดิอาราเบีย  มาปลูกที่อำเภอบ้านนา  จังหวัดนครนายก
2)ลักษณะเพชรบ้านนา
 -  ลำต้นขึ้นเป็นแท่ง  มักแตกเป็นพุ่มอยู่ด้านบน
 -  มีกิ่งก้านสาขามาก  กิ่งแผ่ขนานเกือบระนาบเดียวกับพื้น
 -  ลำต้นและกิ่งก้านมีสีขาวนวล
 -  ใบมันวาว  และเรียวยาว ใบแผ่ผ่าย  ใบไม่มีขนทั้งหน้าใบและหลังใบ
 -  ให้ดอกดก ดอกสีขมพูอ่อน  ดอกมีขนาดเล็ก ออกดอกมักทิ้งใบ  ออกดอกในฤดูหนาว และฤดูร้อน
 -  ตามธรรมชาติติดฝักยาก ฝักขนาดกลางๆ เมล็ดมีขนาดใหญ่
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีความนิ่งของสายพันธุ์สูง
  
  
2)
เขาหินซ้อน < Thai Socotraunm : Kao-Hin-Zon>
 
1)ต้นแม่ได้มากจาก ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
2)ลักษณะเขาหินซ้อน
 -  ล้ำต้นขึ้นเป็นแท่ง  กิ่งใหญ่และมีกิ่งแข็ง
 -  รากใหญ่ กิ่งก้านแผ่คล้ายบอนไซ
 -  ใบมัน สีเขียวตองอ่อน  ใบห่อ  ปลายใบแหลม  ใบไม่มีขนทั้งหน้าใบและหลังใบ
 -  ตามธรรมชาติติดฝักยาก ฝักมีขนาดกลางๆ เมล็ดมีขนาดใหญ่
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะที่หลากหลาย  แต่มีลักษณะที่ดี
  
  
3)
เอส 1
 
1)ต้นแม่เป็นไม้เพาะเมล็ด นำเข้ามาจากต่างประเทศ
2)ลักษณะของ "เอส1"
 -  โขดกลม  เนียนเรียบและสวย
 -  กิ่งก้านสาขาแตกเป็นพุ่มด้านบน
 -  ใบมัน  ใบกลมใหญ่  ปลายใบป้าน  มีเส้นแดงกลางใบ
 -  ดอกสีชมพูสด  กรวยดอกมีเส้นลายแดงเข้ม
 -  ตามธรรมชาติติดฝักยาก  ฝักมีขนาดกลางๆ  เมล็ดมีขนาดใหญ่
 -  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ด  มีลักษณะที่ดี และมีความนิ่งของสายพันธุ์สูง
  
  
4)
เพชรกรุงเก่า < Petch Krung Kao>
 
  
5)
บางคล้า
 
  
6)
ชฏาทอง 
  
  
7)
ชฏาเพชร 
  
  
8)
มงกุฏทอง  < Golden Crow>
  
  
9)
มงกุฎเพชร
  
  
10)
เพชรกาญจนา
  
  
11)
เพชรพระนคร

อันดับ10ดอกไม้ที่สวยที่สุดในโลก

 
 
อันดับที่ 10
ดอกกุหลาบ
     ดอกกุหลาบเป็นหนึ่งในที่สุดโรแมนติกและมหัศจรรย์หอมของดอกไม้ ของดอกกุหลาบให้แพร่หลายในประเพณีและความหมายทางวัฒนธรรมจากสีเหลืองเพิ่มขึ้นของมิตรภาพเพื่อแดงเข้มเพิ่มขึ้นของความรักที่แท้จริง



 
อันดับที่ 9
ดอกผกากรองหรือLantana
     ดอกไม้เหล่านี้ละเอียดอ่อนที่มีกลีบดอกสีชมพูและสีเหลืองของพวกเขาจะแม่เหล็กผีเสื้อ พุ่มไม้ที่สามารถเติบโตได้มีขนาดใหญ่มากและสีของการเปลี่ยนแปลงกลีบเป็นพืชอายุ ระวัง -- Lantana ถือว่าเป็นวัชพืชโดยมากมายที่ค่อนข้างยากที่จะกำจัด


 
 
อันดับที่ 8
ดอกระฆังหรือBlue Bells
     ในฤดูใบไม้ผลิป่ายุโรปจำนวนมากถูกปกคลุมด้วยพรมหนาแน่นของดอกไม้นี้เหล่านี้เป็นที่เรียกทั่วไปว่า"ไม้ดอกไม้ชนิดหนึ่ง" มันเป็นความคิดที่พวกเขาตั้งชื่อโดยกวีโรแมนติกของศตวรรษที่ 19, ผู้ที่รู้สึกว่าเหงาสัญลักษณ์และเสียใจ



อันดับที่ 7
ดอกโลหิตแห่งหัวใจหรือดอกหทัยหยาดทิพย์หรือBleeding Heart

หตุที่เขาได้ชื่อว่า bleeding heart ก็เพราะว่า เมื่อดอกเขาผลิใหม่ ๆ ยังตูม ๆอยู่ที่ปลายแหลมของหัวใจด้านล่าง จะมีติ่งรูปร่างคล้ายหยดน้ำ มีสีแดง ๆ ดูเหมือนหยดเลือด  แต่เมื่อดอกเริ่มบาน  ตัวหยดจะเปิดออกให้เห็นใส้สีขาว ๆ อยู่ข้างใน คราวนี้จะเห็นหยดน้ำไหลออกมาจากหัวใจแทน คนเยอรมันเห็นตรงนี้เหมือนหยดน้ำตา เลยเรียกดอกนี้ว่า  Traenendes herz ดอกหัวใจเจ้าน้ำตา  ลองดูจากรูป รูปข้างบน หรือรูปข้างล่างก็ได้ ก็จะเห็นตามที่ว่านี้



 
อันดับที่ 6

ดอกซูซานตาดำหรือBlack Eyed Susan

ซูซานตาดำ, wildflower ร่าเริงอยู่ตลอดกาลที่ทำหน้าที่เป็นแบบเลื่อนกลับที่สวยงามในสวนใด ๆความคมชัดของสีทองสดใสกลีบดอกสีเหลืองและสีดำตรงกลางจะทำให้ง่ายต่อการใด ๆจุดหนึ่งและทราบว่าเป็น



อันดับที่ 5


คาลล่า ลิลลี่ หรือCalla Lily

คาลล่า ลิลลี่ (Calla Lily) เป็นพันธุ์ไม้หัว ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ มีต้นกำเนิดในแอฟริกาใต้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ค่ะ คือพันธุ์ไม้ยืนต้น ที่ปลูกเพื่อเป็นไม้ตัดดอก (Cut Flower) และพันธุ์ไม้ล้มลุก ซึ่งจะมีการพักหัวในฤดูหนาว นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง (Pot Flower) ถึงแม้คาลล่า ลิลลี่จะเป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่าสำหรับเกษตรกร ที่ต้องการปลูกเพื่อเป็นไม้ตัดดอก เนื่องจากลงทุนปลูกครั้งเดียว แต่สามารถตัดดอกขายได้ต่อเนื่องนานถึง 4- 5 ปีโดยไม่ต้องขุดหัวขั้นมาปลูกใหม่ แต่คาลล่า ลิลลี่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องอุณหภูมิในการปลูก เหมาะสำหรับเกษตรกรที่อยู่บนที่สูงหรือบนดอย ที่มีอุณหภูมิที่ 18 - 24 องศาเซลเซียส





 
 
อันดับที่ 4
ดอกไฮเดรนเยีย
    ไฮเดรนเยีย(Hydrangea)เป็นไม้พุ่งสูง1-3เมตรจัดเป็นพืชหลายฤดูชอบอากาศหนาวเย็น บางชนิดเป็นไม้ยืนต้น
หรือไม้เลื้อยแต่ส่วนใหญ่มักเป็นไม้พุ่มเตี้ยใบเกิดแบบตรงข้ามแผ่นใบมีขนาดกว้างใหญ่ขอบใบจักช่อดอกเกิดส่วนปลายกิ่งหรือยอด
ลำต้นดอกประกอบด้วยใบประดับที่มีสีสวยงามแล้วแต่พันธุ์ ไฮเดรนเยียอาจผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้แต่ถ้าเป็นชนิด
ที่อยู่ในเขตอบอุ่นจะผลัดใบพักตัวในฤดูหนาวดอกของไฮเดรนเยียเกิดที่ปลายยอดกิ่งหรือยอดลำต้น เป็นช่อดอกแบบช่อเชิง
หลั่นหรือช่อแยกแขนง(corymbsorpanicles) ช่อดอกประกอบด้วยดอกสองแบบคือกลุ่มดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีขนาดเล็ก
ที่อยู่บริเวณใจกลางช่อดอกใหญ่ ส่วนกลุ่มดอกที่มีขนาดดอกย่อยใหญ่สะดุดตานั้นความจริงเป็นดอกที่เกิดจากกลีบดอก
ประดับดูสะดุดตา เกิดเป็นวงรอบขอบนอกของช่อดอกใหญ่ไฮเดรนเยียบางชนิดมีช่อดอกซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยสมบูรณ์เพศ
ทั้งช่อเลยก็มี ดอกไฮเดรนเยียส่วนใหญ่จะมีสีขาวเป็นหลัก แต่บางชนิด เช่น H. macrophylla อาจเป็นสีน้ำเงิน แดง
ชมพูหรือม่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก หากเครื่องปลูกมีสภาพเป็นกรด pH 5.0-5.5สีดอกจะออก
เป็นสีน้ำเงิน ถ้าสภาพเป็นด่างจะให้ดอกสีม่วงหรือชมพูถ้าปลูกในเครื่องปลูกที่สภาพเป็นกลางดอกไฮเดรนเยียจะมีสีครีมซีด
ทั้งนี้เพราะไฮเดรนเยียเป็นหนึ่งในบรรดาพืชไม่กี่ชนิดที่สะสมธาตุอะลูมินัม ธาตุนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องปลูก
ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ธาตุนี้จะทำปฏิกิริยากับสารละลายในกลีบดอกทำให้เกิดสีน้ำเงินขึ้นได้ ปกติไฮเดรนเยียต้องการดินที่เป็นกรดอ่อน
pH 6.0-6.5 จะเติบโตได้ดี
    


 

อันดับที่ 3

ดอกปักษาสวรรค์

ปักษาสวรรค์มีใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน คล้ายใบกล้วย ปลายใบแหลม โคนมนถึงสอบ ขอบเรียบกว้าง 10 - 15 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ก้านใบยาว 30 -60 ซม. บริเวณช่วงต่อกับแผ่นใบกลมมน โคนก้านใบแผ่แบนเป็นกาบโอบรอบต้น
จะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุ 3 - 6 ปี ดอกมีรูปทรงคล้ายนกที่กำลังกางปีก อาจจะออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อประมาณ 3 -7 ดอก ออกจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกกลม มีกาบรองดอกรูปเรือรองรับดอกย่อย แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงรูปหอกแคบยาว 3 กลีบ และกลีบดอกรูปหัวลูกศร 2 กลีบ ส่วนปลายกลีบห่อติดกัน มีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายใน ตอนปลายสุดของหัวลูกศรมียอดเกสรเพศเมียสีน้ำตาลยื่นออกมา เมื่อดอกบานเต็มที่มีความยาว 8 - 12 ซม. ทยอยบานจากโคนช่อไปปลายช่อ ผลมีรูปรี จะแห้งและแตก ภายในมีเมล็ด 3 เมล็ด รูปกลม มีเปลือกหนาสีดำ

[แก้]
canna picture
canna flower picture
canna lily picture

 
อันดับที่ 2
ดอกพุทธรักษา
 
     พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ

 

 

อันดับที่ 1 

ดอกซากุระ

ซากุระ (ภาษาญี่ปุ่น : 桜 หรือ 櫻) เป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เกาะไต้หวัน หมู่เกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของซากุระก็คือ เมื่อร่วง จะร่วงพร้อมกันหมด ซากุระจึงเป็นสัญลักษณ์ของเลือดทหารและซามูไรของญี่ปุ่น
มีดอกซากุระในเกาหลีสหรัฐอเมริกาแคนาดาจีน หรือที่อื่นๆ แต่ไม่มีกลิ่น ขณะที่ซากุระของญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากยกย่องชื่นชมกลิ่นของมัน และมักจะกล่าวฝากไว้ในบทกวี
ดอกซากุระของญี่ปุ่นนี้ ในภาษาอังกฤษมีคำเรียกทั่วไปว่า “cherry blooms” หรือ “cherry blossom” หรือไม่ก็ “Japanese Flowering Cherry” จะบานในช่วงปลายมีนา-ต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป
ดอกซากุระ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น เชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า ซะกุยะ (หมายถึง ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเจ้าหญิง โคโนฮะนะซะคุยาฮิเม มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอดเขาฟูจิด้วย สำหรับพระนามของเจ้าหญิงองค์ดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าเจ้าหญิงดอกไม้บาน และเนื่องจากซากุระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นสมัยนั้น คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากุระนั่นเอง เจ้าหญิงองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้น ก็เพราะมีเรื่องเล่ามาว่าทรงตกจากสวรรค์ มาบนต้นซากุระ ดังนั้น ดอกซากุระจึงถือเป็นตัวแทนของดอกไม้ญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลประกาศให้ดอกเก็กฮวย (ดอกเบญจมาส) เป็นดอกไม้ประจำชาติ

http://www.google.co.th/imgres?hl=th&sa=X&biw=1366&bih=564&tbm=isch&tbnid=DkyKfT_KBGS-nM:&imgrefurl=http://kimmy3577.blogspot.com/2012/09/blog-post_3317.html&docid=KYgVUZUTyvViPM&imgurl=https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiXBxX5auzuD4vCm7o1BVYn1JTQmIbXzjpAvpM22vf5B9xamRa0HZ1nZifFY9OAzzJcFAKWUv5XBES9nXpwzC2jOlR5gg6rRJPauTUjzsKhBcNLGfxgjP2tIJNp39yARVjNvWVMVXLC6o8/s1600/008.jpg&w=640&h=480&ei=HEcsUZfBB8TWrQe264GIDQ&zoom=1&iact=rc&dur=141&sig=105114265768884340155&page=1&tbnh=139&tbnw=193&start=0&ndsp=22&ved=1t:429,r:2,s:0,i:87&tx=144&ty=79