วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกทองกวาว

ทองกวาวชื่อ ทองกวาว
ชื่อสามัญ Flame of the forest, Bastard Teak
ชื่อวิทยาศาสตร์
Butea monosperma Ktze.
ชื่ออื่นๆ กวาว, ภาคเหนือเรียก ก๋าว , ภาคใต้เรียก จอมทอง , อิสานเรียก กาว ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ ทองต้น อยู่ในพืชตระกูล วงศ์ Leguminosae-Papilionoideae

ดอกทองกวาว


 
ลักษณะทั่วไป   - ลำต้น เป็นไม้เปลือกหนา เปลือกแตกเป็นร่องตื้นๆ เป็นไม้เนื้อแข็ง สูงประมาณ 10-20 เมตร ยอดกิ่งก้าน รูปทรงไม่แน่นอน เช่น เป็นพุ่มหนา สูงโปร่ง
เป็นไม้ผลัดใบ เป็นพัธุ์ไม้โตช้า มีความทนทานต่อความแห้งแล้ว และ ต่อโรคสูง ขยายพัธุ์ด้วยเมล็ด
- เปลือกสีเทา ขาว ค่อนข ้างหนา ใบประกอบแบบขนนกเรียงเวียนสลับ มี 3 ใบย่อย ปลายกลมหรือทู่ โคนกลม ขอบใบเรียบ
ผิวด้านบนเกลี้ยงด้านล่างสาก
- มีใบย่อย 3 ใบ ใบ กลางรูปมนกว้างเกือบกลม ปลายใบมนโคนใบสอบ ส่วนใบข้างอีก 2 ใบ รูปไข่ ปลายใบมน โคนใบแหลมแผ่นใบหนา
ด้านบนเกลี้ยงเกลา ด้านล่างของใบสาก
- ดอกสีแสด หรือแดงสด บางต้นมีสีเหลือง รูปทรงแบบดอกถั่วขนาดใหญ่ ออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน
และที่ปลายกิ่ง ยาว 2 - 15 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 5 - 8 ซม. เริ่มออกดอกในเดือน ธันวาคม - มีนาคม
- ขยายพัธุ์โดยเมล็ด ผลเป็นฝักแบนขาวออก สีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดแบนๆ เมล็ดเดียวที่ปลายฝัก ผลจะเริ่มแก่ระหว่างเดือน เมษายน--พฤษภาคม
- พบมากที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด เด็ดปีกแล้วนำไปแช่น้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนจะนำไปปลูก เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 10 วัน
ประโยชน เปลือกใช้ทำเชือกและกระดาษ ยางแก้ท้องร่วง ใบตำพอกฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด ท้องขึ้น
ริดสีดวง เข้ายาบำรุงกำลังดอก ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม
บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาวทาแก้คันและแสบร้อน



http://www.hellomukdahan.com/flame/thailand-mukdahan-flame-history.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น