วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium

กล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium

กล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium

         กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
          กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆ
          กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น
        

ชื่อไทย :
เอื้องผึ้ง โพดอนแหล่ (แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobiun lindleyi SteuD.
ลักษณะทั่วไป :  ลำต้น เป็นลำรูปลีมักจะแบบเล็กน้อย ขนาด 5-12*1.5-2.5 ซม.มีสันและร่องตามความยาวผิวแห้งสีเขียวอมน้ำตาลเข็ม ขึ้นเป็นกระจุกแน่นแต่ละต้นมี 1ใบที่ยอด ใบรูปรีขนาด 6-12*2-2.5 ซม.ก้านดอกผอม ยาว3-4 ซม.ดอกขนาด 2-2.5 ซม. ดอกบานใหม่สีเหลืองอมเขียว วันต่อๆมาสีเข็มขึ้นจนเป็นสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกรูปทรงเกือบกลม ปลายกลีบมน กลีบปากเกือบมลใหญ่กว่ากลีบดอกอื่นๆและกลางกลีบปากสีเหลืองเข็ม ดอกบานทน 1 สัปดาห์มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
แหล่งที่พบเทศไทย : พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน อินเดีย ภูฏาน
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484         
ชื่อไทย : เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน (ภาคเหนือ) กับแกะ (เลย) พอพางดี (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian thyrsiflorum Rchb.f.
ลักษณะทั่วไป :  ลำต้นลำกลมหรือเกือบกลมเป็นสันและร่องตื้นๆตามยาวสีเขียวเข็มหรือเขียวอมน้ำตาลยาว 25-50 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-1.8 ซม. ผิวมันเล็กน้อยเป็นกอ ใบรูปรี กว้างขนาด 8-12*4-5 ซม. ปลายแหลมมน แผ่นใบค่อนข้างหน้าและเหนียวคล้ายหนัง สีเขียวเข้ม ผิวมันทิ้งใบ้เมื่อผลิดอก ช่อดอกเกิดใกล้ยอดเป็นพวงห้อยลงขนาด 18-30*7-12 ซม. ดอกในค่อนข้างแน่น ก้านดอกยาว 4-5 ซม.ขนาดดอก 2.5-3 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากกลมสีเหลืองและขอบกลีบ มีขนนุ่มหยักละเอียด ดอกมีกลิ่นหอม ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อและทนได้ประมาณ 1สัปดาห์
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมกราคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบมากตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า ลาว เวียดนาม จีน และอินเดีย
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
         
ชื่อไทย :
เหลืองจันทบูร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian friedericksianum
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัดจันทบุรี เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมกราคม - เมษายน
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นพบเฉพาระในประเทศไทย
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

ชื่อไทย :
พวงหยก, หวายปม เอื้องข้อ (เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian findlayanum C.P.S.Parish & Rchb.f.
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยสีเขียวเหลือง ยาวประมาณ 30–70 เซนติเมตร และโป่งเป็นข้อๆ ลักษณะใบยาวรี เมื่อลำแก่จะทิ้งใบ ออกดอกตามข้อๆ ละประมาณ 2-4 ดอก กลีบดอกสีม่วงอ่อนโคนกลีบสีขาว ปากสีเหลืองเข้ม ขอบปลายปากเป็นรูปหัวใจ ขนาดดอกโตประมาณ 4–6 เซนติเมตรช่วงออกดอกมักผลัดใบเกือบทั้งหมด
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมกราคม - มีนาคม
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : พบภาคเหนือที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของไทย ลาว และพม่า
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

       

ชื่อไทย :
เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย, เอื้องตาความ,สบเป็ด,มอกคำตาความ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian pulchellum. Roxb.ex.Lindl
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะกลม ต้นอ่อนเป็นเส้นสีม่วงลักษณะใบรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร เมื่อลำแก่แล้วจะทิ้งใบ แตกช่อห้อยที่ปลายลำ ช่อหนึ่งมี 5–10 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนมีเส้นเหลืองชมพู ปากรูปไข่กลมแบะแอ่นลงมีแต้มสีเลือดหมู 2 แต้ม กลีบนอกเป็นรูปใบ ภายในกลีบเป็นรูปไข่ ขนาดดอกโตประมาณ 5–7 เซนติเมตร พบทางภาคเหนือ
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ (ยกเว้นภาคกลาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ลาว เนปาล อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484


ชื่อไทย : เอื้องมัจฉาณุ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian Farmeri Paxton
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่ลำลูกกล้วยลักษณะเป็นพู ตอนบนใหญ่ตอนล่างเล็กรูปสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร ลำลูกกล้วยแต่ละลำมีใบ 3–4 ใบ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อห้อยยาวประมาณ 15–25 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมีหลายดอก ก้านช่อดอกยาว ดอกหลวม ทั้งกลีบดอกนอกและในมีสีม่วง ชมพู หรือขาว ปากสีเหลืองมีขนเป็นกำมะหยี่ ขนาดดอกโตประมาณ 2-
4 เซนติเมตรช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484      

ชื่อไทย : เอื้องเงินหลวง, เอื้องขี้ผึ่ง (ภาคใต้), เอื้องตาเหิน (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian formosum
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยตั้งตรง กลมค่อนข้างอ้วน ความยาวประมาณ 30–50 เซนติเมตร ที่กาบใบมีขนสีดำลักษณะใบรูปไข่ยาวรี ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร ปลายใบมี 2 แฉกไม่เท่ากัน ออกดอกที่ยอด ช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งๆ มี 3–5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ปากสีเหลืองส้มโคนปากสอบปลาย ปากเว้า มีสันนูนสองสันจากโคนออกมาถึงกลางปาก ขนาดดอกโตประมาณ 10 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อน
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนตุลาคม - ธันวาคม
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ :พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้
สถานภาพ :

     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484         
ชื่อไทย : เอื้องเงิน, เอื้องตึง, เอื้องงุม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian Draconis.Rchb.f.
ลักษณะทั่วไป :  ลำต้นลำลูกกล้วยตรง ค่อนข้างแข็.ขนาด 22-30*1-1.5 ซม. เป็นสันและร่องตามยาว ผิวต้นอ่อนมีขนสั้นละเอียดสีดำ ต้นขั้ยเป็นกอแนใบรูปไข่แกมรูปรีเรียนเวียนสลับตลอดต้น ขนาด 5-8*2-3 ซม.ปลายหยักมนไม่เท่ากันแผ่นใบหนาและเหนียว ช่วงออกดอกมีทั้งที่ไม่ทิ้งใบละทิ้งใบ ดอกเกิดจากข้อใกล้ยอด เป็นดอกเดี่ยวหรือชื่อสั้นๆมี 1-3 ดอกขนาด 3.5-4.5 ซม.กลีบดอกสีขาวเป็นมันคล้ายขี้ผึ้งปลายกลีบแหลมขอบกลีบบิดเป็นคลื่อน กลีบคงรูป มีหูปากรูมนโคนกลีบปากสีแดงงอมแสดกลางกลีบมีสีสัน 3-5 สันกลิ่ยหอมอ่อนๆดอกบานทนนาน 1เดือนหรือว่านั้น
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมีนาคม -เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย :ในเขตป่าผลิใบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก (ยกเว้นภาคตะวันตก)
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย  พม่า และอินโดจีน
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484       

ชื่อไทย : เอื้องเงินแดง, เอื้องกาจก, เอื้องตึง, เอื้องแชะเหลือง, เอื้องแชะดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian cariniferum.Rchb.f.
ลักษณะทั่วไป :  ลักษณะลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยทรงกระบอก ผิงมักเป็นร่อง ใบรูปขอบขนาน ปลายเบี้ยว ออกดอกเป็นช่อ 2-5 ดอก ดอกกว้าง 3-4 ซม. กลีบดอกสีขาวครีม ปลายสีเหลือง โคนของกลีบปากสีส้มเข้มถึงส้มแดง กระดกห่อขึ้น ปลายแผ่เป็นแผ่นค่อนข้างยาว ขอบหยักเป็นคลื่น สีเหลืองอมส้มถึงขาว กลางกลีบเป็นสันนูน มีเส้นสีส้มเป็นริ้วตามความยาวกลีบเป็นระยะ ดอกมีกลิ่นหอม
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณในภาคเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : พม่า จีน อินเดีย ลาว เวียดนาม
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484      

ชื่อไทย :
เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian crumenatum
ลักษณะทั่วไป :  ออกดอกเป็นช่อ 1-2 ดอก ตามข้อต้นในส่วนที่ไม่มีใบของปลายลูกกล้วย กลีบดอกสีขาว กางผายออก โคนกลีบปากเชื่อมติดกัน หูกลีบปากกระดกขึ้นทั้งสองข้าง ปลายผายออก มีสีเหลืองที่กลางกลีบปาก ดอกขนาด 2-3 เซนติเมตร ดอกบานเพียงวันเดียว มีกลิ่นหอมฉุน
ช่วงออกดอก : ช่วงออกดอกไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะออกดอกช่วงที่มีอากาศร้อนแล้วมีฝนตก หรือในช่วงฤดูฝน
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : พบตามป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตก
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

ชื่อไทย :
เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง, เอื้องสายน้ำเขียว (เชียงใหม่), เอื้องสายเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendorbian Primulinum Lindl.
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่ลำลูกกล้วยกลมเกือบเท่ากันทั้งลำ รูปทรงตรงหรือโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 30–45 เซนติเมตร ใบเล็กลงไปทางยอด ใบตัดเฉียงๆ ตามยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เมื่อใบแก่จะทิ้งใบ ออกดอกตามข้อที่ทิ้งใบแล้ว ดอกเป็นช่อๆ ละ 1–2 ดอก ตามข้อของลำลูกกล้วย ลักษณะกลีบดอกนอกและในยาวรีเท่ากัน สีม่วงอ่อน ปากรูปกรวยเป็นวงกลมสีเหลืองมะนาว ขนาดดอกโตประมาณ 5–7 เซนติเมตร
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
          

ชื่อไทย :
เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobian tortile Lindl.
ลักษณะทั่วไป :  ลำต้นเจริญทางด้านข้าง โคนลำลูกกล้วยคอด ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามข้อ 3-6 ดอกต่อข้อ ดอกกว้าง 5-7 เซนติเมตร กลีบดอกสีม่วง มักบิดเป็นคลื่น มีเส้นสีม่วงตามความยาวกลีบ โคนกลีบปากม้วนขึ้นเป็นกลีบยาว โคนสีม่วง ปลายผายออก สีเหลืองอ่อน
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ :พม่า อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

ชื่อไทย :
เอื้องแปรงสีฟัน, เอื้องหงอนไก่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobiam secundum
ลักษณะทั่วไป :  ใบรูปขอบขนานแกมรูปแถบ ออกดอกที่ปลายกิ่งเป็นช่อยาว ดอกจำนวนมาก กลีบงุ้มเข้าหากัน สีม่วงอมชมพู กลีบปากเป็นทรงกระบอก ปลายกลีบปากสีเหลือง ดอกกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ช่วงออกดอกมักผลัดใบ
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าทุกประเภททางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
การกระจายพันธุ์ : จีน พม่า อินโดจีน ภูมิภาคเอเชีย
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

ชื่อไทย :
เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobain anosmum Linal
ลักษณะทั่วไป :  ลำลูกกล้วยห้อยลงเป็นสายยาว ใบรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลม ดอกเดี่ยวออกตามข้อ ดอกกว้าง 4-5 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน กลีบปากรูปทรงกลมปลายแหลม โคนกลีบปากม้วนเข้าหากันและมีแต้มสีม่วงเข้มทั้งสองด้าน ผิวกลีบด้านในมีขนปกคลุม ผิวด้านนอกมีขนเฉพาะขอบกลีบ ดอกมีกลิ่นหอม ช่วงออกดอกมักผลัดใบ
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนเมษายน- พฤษภาคม
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ : พบทางภาคใต้ของไทย ศรีรังกา อินโดจีน และภูมิภาคเอเชีย
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484          

ชื่อไทย :
เอื้องครั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobian  parishii
ลักษณะทั่วไป :  ลำลูกกล้วยรูปรี ค่อนข้างอวบ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ออกดอกที่ข้อ 1-3 ดอก ดอกกว้าง 3-5 เซนติเมตร กลีบดอกสีม่วง โคนกลีบดอกกระดกห่อขึ้น ปลายกลีบแหลมมีขนสั้นๆ ปกคลุม กลางกลีบสีม่วง ดอกมีกลิ่นหอม
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนกุมพาพันธ์ – มีนาคม
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ :พบทางภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันตกและอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484        
        
ชื่อไทย :
อื้องคำ,พอนี้โคง(แม่ฮ่องสอน),เอื้องคำตา(เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobian chrysotoxum Lindl.
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยรูปทรงหลายเหลี่ยมโดยจะมีตอนกลางลำโป่ง แล้วเรียวลงมาโคนและยอด ความยาวประมาณ 20–50 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะมีสีค่อนข้างเหลืองตอนบนของลำจะมีใบอยู่ 4–5 ใบ ยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ 12-25 ดอก แต่ละช่อดอกจะห่างไม่อัดแน่น ดอกมีสีส้มสด กลีบปากสีส้มมีขนาดใหญ่ โคนกระดกห่อขึ้น ปลายบานเป็นทรงกลม มีขนนุ่มปกคลุม ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น ขนาดดอกประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม
ช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ :พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันตก พม่า ลาว เวียดนาม และอินเดีย
สถานภาพ :

     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484               
 
ชื่อไทย :
แววมยุรา, เอื้องคำตาดำ, เอื้องคำน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobian fimbriatum hook.
ลักษณะทั่วไป :  เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยยาวกว่า 60 เซนติเมตร มีผิวเป็นร่องตื้นๆ ใบรูปหอกยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมี 7–15 ดอก กลีบนอกยาวรี กลีบในเป็นรูปไข่สีเหลือง กลีบปากเกือบกลมมีสีเข้มกว่ากลีบดอก ผิวมีขนนุ่มละเอียดปกคลุม ขอบกลีบหยัก กลางกลีบมีแต้มสีม่วงเข้มเกือบดำ ดอกกว้าง 3-
4 เซนติเมตรช่วงออกดอก : ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งและป่าผลิใบทางภาคเหนือและภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดียและประเทศใกล้เคียงในแทบเทือกเขาหิมาลัย จีน พม่า อินโดจีน มาเลเซีย
สถานภาพ :
     *พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518
     *ของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น